เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น แต่คำว่า “กุ้ง” ไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าน้ำปลาโดยตรง ทั้งเมื่อกล่าวถึงคำว่า “กุ้ง” ก็ไม่ทำให้สาธารณชนนึกถึงสินค้าน้ำปลา ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า “กุ้ง” เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” น่าจะไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็นคนละกรณีกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2553

คำว่า “กุ้ง” ไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าน้ำปลาโดยตรง ทั้งเมื่อกล่าวถึงคำว่า “กุ้ง” ก็ไม่ทำให้สาธารณชนนึกถึงสินค้าน้ำปลา

ประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย กำหนดในทำนองเดียวกับประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่

1/2535 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คือ กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลาและกะปิ” คือ “กุ้ง” และกำหนดสิ่งที่ใช้กัน

สามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” คือ “ปลา” ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า “กุ้ง” เป็นสิ่งที่ใช้กัน

สามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” จึงไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็นคนละกรณีกัน
________________________________
โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ตามคำสั่งที่ พณ 0704/22349 พณ 0704/22350 และ พณ 0704/22351 ลงวันที่ 1 กันยายน 2548 ให้เพิก

ถอนคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ 1705/2549, 1706/2549 และ 1707/2549 ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ดำเนินการ

รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำขอเลขที่ 496547 496548 และ 496549 ต่อไป หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา

จำเลยทั้งสามให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามหนังสือที่ พณ 0704/22349, พณ

0704/22350 และ พณ 0704/22351 ลงวันที่ 1 กันยายน 2548 และให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 1705/2549 1706/2549 และ

1707/2549 ที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า “ตรากุ้งมังกร” และรูปกุ้งมังกรของโจทก์ ให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียน

เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ ตามคำขอเลขที่ 496547, 496548 และ 496549 ต่อไป คำขออื่นให้ยก ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ

จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างวินิจฉัยว่า ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามมีว่า คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมาย

การค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ คำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงตาม

กฎหมายนั้น หมายถึงกรณีมีความเป็นไปได้ที่คำหรือข้อความจะเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า จึงมีประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง

กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย กำหนดให้ “กุ้ง” เป็นสิ่งที่ใช้เป็นสามัญในการค้าขายสินค้าน้ำปลาและซอสถั่วเหลือง ทั้งการตีความพระราชบัญญัติเครื่องหมาย

การค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ควรจะตีความให้กว้างขวางและสามารถใช้บังคับได้ เห็นว่า พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง

(2) นั้นถือว่า คำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เมื่อพิจารณาจากสินค้าน้ำปลาก็จะพบว่ามีความหมายว่า

น้ำสำหรับปรุงอาหารให้มีรสเค็ม ทำจากปลาหรือสิ่งอื่นหมักกับเกลือ จำเลยทั้งสามไม่ได้โต้แย้งข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่า น้ำปลาโดยทั่วไปไม่ได้ใช้กุ้งเป็นส่วนผสม ส่วน

อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามในทำนองว่า อาจมีการใช้กุ้งมังกรไปผลิตเป็นสินค้าน้ำปลานั้นก็เป็นเพียงความเห็น จึงไม่อาจถือได้ว่า “กุ้ง” เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือ

คุณสมบัติของสินค้าน้ำปลาโดยตรง ทั้งยังฟังไม่ได้ว่าเมื่อกล่าวถึงคำว่า “กุ้ง” แล้วจะทำให้สาธารณชนนึกถึงสินค้าน้ำปลาดังที่จำเลยทั้งสามอ้าง

นอกจากนี้ประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ 1/2546 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายนั้น คงกำหนดในทำนองเดียวกับประกาศนายทะเบียนเครื่อง

หมายการค้าที่ 1/2535 เรื่อง กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย คือ กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลาและกะปิ” คือ “กุ้ง” และ

กำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” คือ “ปลา” ดังนั้น การที่จะอ้างประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อแสดงว่า “กุ้ง”

เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับรายการสินค้า “น้ำปลา” น่าจะไม่ถูกต้อง และไม่อาจนำมาใช้พิจารณาเกี่ยวกับลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายได้เพราะเป็น

คนละกรณีกัน ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยมานั้นชอบแล้ว

พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ

( ไมตรี ศรีอรุณ - อร่าม เสนามนตรี - สมควร วิเชียรวรรณ )
ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง - นางสาวกาญจนา เกิดโพธิ์ทอง

ทนายความประชาชน
ชมรมปรึกษาคดีฟรี ทั่วประเทศฯ (ช ป.ท.)
hello! I am an admin of the People's Lawyer - Free Legal Consultation Club Nationwide (Chor.Por.T.A.) giving advice - like a relative - free of charge, call or add Line 089 214 2456
สวัสดี! ฉันเป็นแอดมินของทนายความประชาชน - ชมรมปรึกษาคดีฟรีทั่วประเทศฯ (ช.ป.ท.) ให้คำปรึกษา- ดุจญาติมิตร - ไม่คิดค่าใช้จ่าย โทร.หรือ แอดไลน์ 089 214 2456


X
STILL NOT SURE WHAT TO DO?
We are glad that you preferred to contact us. Please fill our short form and one of our friendly team members will contact you back.
Form is not available. Please visit our contact page.
X
CONTACT US