สัญญาประนีประนอมระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา

สัญญาประนีประนอมระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ผู้ตายร่วมกัน

ผู้ร้องเป็นภริยาของ ผู้ตาย โดยได้จดทะเบียนสมรสและมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นางสาวอภัสสร ผู้ร้องได้จดทะเบียนหย่ากับผู้ตาย และได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายอีกครั้งหนึ่ง ส่วนผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย อันเกิดจากนางจันทร์ ซึ่งผู้ตายได้รับรองแล้ว ผู้ตายถึงแก่ความตาย มีที่ดิน 2 แปลง ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ใด ระหว่างการพิจารณาผู้ร้องกับผู้คัดค้านตกลงกันให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียวหรือไม่ เห็นว่า แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ทนายผู้ร้องได้ยื่นคำร้องว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันได้ โดยผู้คัดค้านยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียว แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีผลเป็นการตกลงกันในประเด็นแห่งคดีเพียงบางข้อ เพราะมีประเด็นที่ศาลจำต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในสำนวนแล้ววินิจฉัยถึงสิทธิและคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเสียก่อน ดังนั้นศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามยอมให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นภริยาของผู้ตาย เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคแรก มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ และผู้ร้องมีคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย กับมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตาย ประกอบกับในชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว จึงเห็นควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฝ่ายเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายร่วมกันนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นำพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องฟังขึ้น"

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2549 (เรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่น อ่านต่อคลิ๊กที่นี่)

ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาทนายผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันได้ โดย ผู้คัดค้านยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียว แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีผลเป็นการตกลงกันในประเด็นแห่งคดีเพียงบางข้อ เพราะมีประเด็นที่ศาลจำต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในสำนวนแล้ววินิจฉัยถึงสิทธิและคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเสียก่อน ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามยอมให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้

ผู้ร้องเป็นภรรยาของผู้ตาย เป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคแรก มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ประกอบกับในชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฝ่ายเดียว

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสงบ ผู้ตาย ผู้ตายมีบุตรกับภริยาคนก่อนจำนวน 7 คน เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 ผู้ตายได้ถึงแก่ความตาย ก่อนตายผู้ตายไม่ได้ทำพนัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ใด ผู้ตายมีทรัพย์สินคือที่ดินโฉนดเลขที่ 1019 และ 3529 ตำบลรัตนวาปี กิ่งอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ผู้ร้องมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก และผู้ร้องมิได้เป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วของนายสงบ ผู้ตาย ผู้ร้องได้จดทะเบียนหย่ากับผู้ตายแล้ว จึงไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ผู้คัดค้านมิได้เป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย ขอให้ยกคำร้อง และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว มีคำสั่งตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของนายสงบ ผู้ตายร่วมกัน ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

ผู้ร้องอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้เป็นพับ

ผู้ร้องฎีกา

ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ทนายผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันได้ โดยผู้คัดค้านยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว ตามสัญญาประนีประนอมยอมความลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2547 ศาลชั้นต้นส่งสัญญาประนีประนอมยอมความมายังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาดำเนิการต่อไป

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันฟังได้ว่า ผู้ร้องเป็นภริยาของนายสงบ ผู้ตาย โดยได้จดทะเบียนสมรสกันเมื่อปี 2525 และมีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ นางสาวอภัสสร เมื่อปี 2543 ผู้ร้องได้จดทะเบียนหย่ากับผู้ตาย ปี 2543 ผู้ร้องได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายอีกครั้งหนึ่ง ส่วนผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตาย อันเกิดจากนางจันทร์ ซึ่งผู้ตายได้รับรองแล้ว เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2545 ผู้ตายถึงแก่ความตาย ก่อนตายผู้ตายมีที่ดิน 2 แปลง คือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 1019 และเลขที่ 3529 ตำบลรัตนวาปี กิ่งอำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย ตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารหมาย ร.5 และ ร.6 ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ใด ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้ร้องกับผู้คัดค้านตกลงกันให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว ตามสัญญาประนีประนอมยอมความลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2547

คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของผู้ร้องว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียวหรือไม่ เห็นว่า แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ทนายผู้ร้องได้ยื่นคำร้องว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันได้ โดยผู้คัดค้านยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียว แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีผลเป็นการตกลงกันในประเด็นแห่งคดีเพียงบางข้อ เพราะมีประเด็นที่ศาลจำต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในสำนวนแล้ววินิจฉัยถึงสิทธิและคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเสียก่อน ดังนั้นศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามยอมให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นภริยาของผู้ตาย เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคแรก มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ และผู้ร้องมีคุณสมบัติในการเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย กับมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดกของผู้ตาย ประกอบกับในชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านตกลงกันให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว จึงเห็นควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฝ่ายเดียว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายร่วมกันนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของผู้ร้องฟังขึ้น"

พิพากษาแก้เป็นว่าให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนายสงบ ผู้ตาย ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายให้ยกคำร้องคัดค้าน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ยกคำร้องของผู้ร้องลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2547 ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้อง ต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดั่งต่อไปนี้
(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหาย ไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัด การ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วย ประการใด ๆ
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งตาม ข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่ข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อ ประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของ เจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 138 ในคดีที่คู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมยอม ความกันในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้มีการถอนคำฟ้องนั้น และข้อตกลง หรือการประนีประนอมยอมความกันนั้นไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ให้ศาลจดรายงานพิสดารแสดงข้อความแห่งข้อตกลงหรือการประนี ประนอมยอมความเหล่านี้ไว้ แล้วพิพากษาไปตามนั้น
ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้
(1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล
(2) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
(3) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นไปตามข้อตกลง หรือการประนีประนอมยอมความ
ถ้าคู่ความตกลงกันเพียงแต่ให้เสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการ ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ มาใช้บังคับ

ทนายความประชาชน
ชมรมปรึกษาคดีฟรี ทั่วประเทศฯ (ช ป.ท.)
hello! I am an admin of the People's Lawyer - Free Legal Consultation Club Nationwide (Chor.Por.T.A.) giving advice - like a relative - free of charge, call or add Line 089 214 2456
สวัสดี! ฉันเป็นแอดมินของทนายความประชาชน - ชมรมปรึกษาคดีฟรีทั่วประเทศฯ (ช.ป.ท.) ให้คำปรึกษา- ดุจญาติมิตร - ไม่คิดค่าใช้จ่าย โทร.หรือ แอดไลน์ 089 214 2456


X
STILL NOT SURE WHAT TO DO?
We are glad that you preferred to contact us. Please fill our short form and one of our friendly team members will contact you back.
Form is not available. Please visit our contact page.
X
CONTACT US